Saturday, October 25, 2014

Indigo Lesson : วิชาย้อมคราม สอบตกซะได้เรา

แม้จะตั้งใจเรียน แต่การย้อมผ้าให้ได้สีน้ำเงิน indigo สวยงามนั้นกลับยาก และต้องใจเย็นมากๆ 
สีจะเข้มจะอ่อนขึ้นอยู่กับผ้าฝ้าย 100% ที่เราใช้ ความหนาบาง และทอแน่นแค่ไหนอีกด้วย
ของเราย้อมได้จางมาก น่าเสียดาย คงเป็นเพราะลวกและรีบเกินไป

วิธีย้อม
ต้มผ้า / แช่ผ้า   มัดลาย   ย้อม

Episode 1
Boil first, then dye
ต้มผ้า ฆ่าไขมันในเส้นใย แล้วค่อยมัด แล้วค่อยย้อม

ผ้าที่แนะนำให้ใช้คือฝ้าย 100% เนื้อหนาแน่นก็ย้อมติดยากกว่า
อ่ะ เอาไปต้ม ย้อมขณะผ้ายังเปียก หรืออุ่นๆยิ่งดี


ต้มใส่ปูนขาวนิดๆ น้ำสบู่หน่อยๆ เดือดแล้วต้มต่ออีก 30 นาที


ใช้ไม้คนในหม้อย้อมเบาๆ อย่าโดนตะกอนก้นหม้อ เด๋วผ้าด่าง
จุ่มผ้าในหม้อย้อม บีบนวดเบาๆใต้น้ำเพื่อให้สีซึมเข้าทั่วถึง ใจเย็นๆ นวดสัก 1-2 นาที
เอาขึ้นมาบิดพอหมาด สังเกตจะเห็นผ้ามีสีอมเขียว แต่เมื่อปล่อยให้โดนอากาศ จะกลายเป็นสีน้ำเงินสวย
เรียกว่า oxidation ซึ่งเราต้องปล่อยให้มัน oxidaton ทุกครั้ง ใจเย็นๆอย่ารีบจุ่มต่อ
พอผ้าเป็นสีน้ำเงินแล้วก็จุ่มซ้ำ
ต้องการสีอ่อน ทำ 3 รอบ
ต้องการสีเข้ม ทำ 10 รอบขึ้น

ภาพการจุ่มลาย Bomaki อันแสนทุลักทุเล

เมื่อทำครบรอบที่ต้องการ ให้ล้างน้ำเปล่าสัก 4 น้ำ ให้สะอาด
คลี่เชือก หรืออะไรที่เรามัดไว้ออก
ล้างอีก 1 รอบ
หากผ้ามีส่วนที่เป็นสีขาว เพื่อป้องกันสีน้ำเงินซึึมล้ำเข้าไป ให้แช่น้ำสารส้มก่อนตาก







Episode 2
Making the Pattern
ทำลาย!!!

ญี่ปุ่นเรียก shibori ลายเพียบเลย


PLANGI
ได้แก่การมัดด้วยเชือก ยาง การทับ ห่อ ด้วยวัสดุรูปร่างต่างๆ เพื่อกันสีเข้าถึง
ใช้บล็อคไม้ คลิป ได้สารพัด 





ตามแต่จะครีเอท

อื่นๆ
http://honestlywtf.com/diy/shibori-diy/
http://www.designsponge.com/2014/05/diy-project-shibori-designs-4-ways.html
http://blog.anthropologie.com/post/74608371593
http://commonthread.alternativeapparel.com/indigo-dyeing-diy/


BOMAKI
คือเทคนิคการพับและมัดเข้ากับเสา หรือท่อพลาสติก หรือขวดแก้ว ขั้นตอนซับซ้อนนิดนึง

พับๆ รีดๆ


พันรอบเสาแล้วมัดให้เชือกไขว้กากบาทไปมา เชือกต้องแน่น สีได้ไม่ซึม

แล้วร่นให้มากที่สุด


ลาย Bomaki ยิ่งร่นผ้า ยิ่งโดนสีน้อย

MOKUME
คือเทคนิคการเย็บ แล้วดึงย่น ฝีเข็มเล็กได้ลายเส้นเล็กสวย
ระยะห่างระหว่างแถว ได้ความยาวเส้นลาย


สังเกตฝีเข็ม เย็บมัดปมทางนึง ปล่อยชายทางนึง
ดึงร่นให้แน่นสุดชีวิต แล้วผูกปมทีละคู่ แน่นๆๆๆ


แต่สุดท้ายสอบตก เพราะของเราย้อมได้จางสุดๆ แม้ลายจะสวย T T

ขอบคุณ studio แน่นหนา เชียงใหม่
อาจารย์ Patricia Cheesman และ อาจารย์โม้นา
facebook : studio naenna


Indigo Lesson : วิชาเตรียมหม้อคราม

ว่าด้วยการเตรียมหม้อย้อมคราม


เมื่อเรามีก้อนเนื้อครามนุ่มๆ ก็เหมือนมีสี จะเอามาระบายก็ต้องผสมกันก่อน
ขั้นตอนนี้เรียกว่า การทำหม้อย้อมจ้า (หม้อก็คือไห) 
สูตรนี้ของใครของมันแตกต่างตามสถานที่ อากาศ เทคนิค สายพันธุ์ของคราม



สูตรเตรียมสีย้อมแบบ 2 วัน รอ 10 วันจึงได้ย้อม


สูตรเตรียมยาย้อมแบบเร่งรัด เตรียมวันเดียว พรุ่งนี้ได้ย้อม


EPISODE A
Making the indigo vat
หม้อครามสูตรสโลว์ไลฟ์

ตามสูตรปกติ เตรียมดังนี้
1. ไหความจุ 10 ลิตร+
2. ตัวสี 1 กิโลกรัม
3. เตรียมน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้าไม้เนื้ออ่อน เช่น ต้นนุ่น ต้นกล้วย กากมะพร้าว ซึ่งมีค่า pH สูง 10-12
ปริมาณ 10 ลิตร ใช้กระดาษลิตมัสเทส หรือบางคนเซียนก็ใช้ชิมเอา

เอาน้ำด่าง 10 ลิตรเทลงหม้อ ตักขึ้นมา 1 ขัน ยีตัวครามลงไปผสม แล้วค่อยเทรวมลงหม้อ
จากนั้นให้อาหารน้องครามที่เค้าชอบ เช่น น้ำเหล้าขาว น้ำละลายน้ำตาลปีป 
ให้อาหารสองวันแรกปริมาณดูตามตาราง ที่เหลือต้องดูเอา

อาหารจะไปเลี้ยงเอนไซม์น้องครามทุกวัน คนหม้อทุกวัน วางในร่ม จนครามเริ่มขึ้น
ครามขึ้นคือมีค่า pH 10-11 ช่วงแรกจะเริ่มมีกลิ่นบูดเปรี้ยว ให้อาหารและดูแลต่อไปอีก 4-10 วัน
ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ พอสังเกตว่ามีฟองผิวกรอบๆสีหมึก เขี่ยน้ำดูเป็นสีเขียว นั่นล่ะ


"ค ร า ม คื น ชี พ แ ล้ ว"  

พร้อมแล้วที่จะให้เราย้อม


ย้อมในหม้อในไหพวกนี้ล่ะ
EPISODE B
Making the indigo vat
หม้อครามสูตรเร่งรัด

สำหรับสูตรเร่งรัด เราจะทำอีกแบบ hard core กว่า หนอนอาจขึ้นได้มากกว่า แต่ไวกว่า
เรียกว่าสูตรน้ำมะขาม

น้ำมะขามกรดสูงกว่า ต้องใช้น้ำด่างที่สูงขึ้น pH 11-13

เริ่มจากทำ starter
1. เอาตัวสี 1 กิโล ผสม น้ำด่างเข้ม 1 ลิตร
2. เอามะขามเปียก 300 กรัม มาบีบๆในน้ำ 700ml เอาเนื้อมะขามทิ้งไป
3. เอาสองข้อผสมกัน จังหวะนี้จะเป็นการน้ำด่าง featuring กรด จะเกิดความร้อนเบาๆจนรู้สึกได้
    ผสมเนี๊ยบๆ อย่าให้เป็นก้อน
4. ปิดฝา ยกมือไหว้ คุยกับคราม เอาขนมไหว้ วางกิ่งไม้ด้านบน เป็นความเชื่อ ทิ้งไว้อีกคืนนึง


อุ่นในมือ
โตไวไวน้า ~ ~

เช้ารุ่งขึ้นมาเขี่ยดู ถ้ามีสีเขียวๆเหลืองๆทุกครั้งที่เขี่ย แสดงว่าใช้ได้แล้ว เย่
การที่เขี่ยแล้วสีเหลืองๆเขียวๆ คือครามแข็งแรงมีชีวิตชีวา โดนอากาศแล้ว oxidation ฉับไว


สีมันเหลืองวื้ดดดตามทัพพีแล้วหายไป เขี่ยอีกก็มาอีก

ครามน้ำมะขามข้นนี้ เรียกว่า Starter 
ใช้ย้อมเลยก็ได้ สีจะเข้มมาก แต่เมื่อซัก ก็จะหลุดไปมาก สิ้นเปลืองมาก

หากทำหม้อย้อมจะประหยัดและติดทนกว่า
ทำหม้อด้วยการใส่น้ำด่าง 1-2 ลิตรลงหม้อ
ใส่ starter ลงไปเบาๆ เพียงเท่านี้ 

"ค ร า ม ก็ คื น ชี พ แ ล้ ว"  

พร้อมแล้วที่จะให้เราย้อม 



EPISODE C
Khram Survivor
ยืดอายุหม้อคราม


ใช่ว่าครามจะไม่มีวันตาย ย้อมหนักๆมันก็ตายได้ แต่อาจารย์ก็มีวิธียืดอายุครามได้
เนื่องจากครามมีชีวิต พอเหนื่อยใกล้ตาย ก็ให้พักผ่อน หยุดย้อม เติมอาหารเล็กน้อย คอยเช็คค่า pH
ในกรณีน้ำมะขาม ถ้าหนอนเริ่มขึ้นแสดงว่า pH เสีย ให้เติมน้ำปูนขาวก็ใช้ได้อีก
แต่ตอนจุ่มมือไปย้อมอาจจะสยองเล็กน้อย ยี๋

Technic :
ก่อนย้อม ให้ตักแบ่งออกมา 10% เมื่อย้อมจนครามเหนื่อย 
เขี่ยแล้วจุ่มผ้าแล้วสีไม่ขึ้นเหลืองๆเขียวๆ
ให้หยุดพัก 
เทสีย้อม 10% กลับคืนไป ก็จะช่วยกระตุ้นให้มันฟื้นใหม่ได้อีกครั้ง

Friday, October 24, 2014

Indigo Lesson : ครามเป็นสิ่งมีชีวิต

ครามเป็นสิ่งมีชีวิต
ชอบประโยคนี้ ขอเขียนซ้ำ

ได้มีโอกาสไปเรียนวิชาครามที่เชียงใหม่ กับชาวต่างชาติ 
แอบเจ็บใจ คนไทยมีของแต่ไม่หาวิธีถ่ายทอดให้มัน pop

คนไทยหนองแขมได้ไปเรียน ขอทำเล็คเชอร์เก็บไว้เพื่อความรู้ต่อไป

อันดับแรก ครามก็คราม ห้อมก็ห้อม ไม่เหมือนกัน และให้สีน้ำเงินที่ต่างกัน
แต่สังเกตใบดูแล้ว ทั้งสองใบมีจุดร่วมเดียวกันคือ ใบไม่มัน ไม่กรอบ นุ่มๆ และมีจุดสีน้ำเงินเล็กๆกระจายทั่วใบ จุดน้ำเงินเรียกว่า indigo pigment ซึ่งอยู่อาศัยโดยพึ่งพาจุลินทรีย์ในใบราวกับเป็นสิ่งเดียวกัน
คราม เลย มีชีวิต


ใบคราม

ครามมีหลายแบบ ต้นทางสกลนครก็เป็นอีกแบบ
ที่เชียงใหม่นี่ชอบขึ้นใต้ต้นไม้ใหญ่ ชอบวันแดดออก ไม่ชอบฝน 
แต่ต้นไม้ใหญ่ถูกตัดหมดแล้ว ก็คลุมสแล็นกันไป
ถ้าได้อากาศที่ชอบ ก้านจะแผ่ ใบจะดก ได้ใบเยอะก็ได้ครามเยอะ เพราะครามอยู่ในใบไม้ใช่ก้าน

แปลงนี้ไม่งาม อาจารย์บอกไปปลูกตรงอื่นดีกว่า

การตัด ตัดให้งอกได้ใหม่ ก็แค่เหลือตาล่างสุด กิ่งล่างสุดไว้ให้มันแตกยอด
ปีนึงตัดได้สองครั้ง

เข้าสู่ขั้นตอนทำคราม



EPISODE 1
Basic way to get Khram out of the leaves
เอาครามออกจากใบ

มัดคราม :
ตัดส่วนเกินที่ไม่เกี่ยวกับครามออกจากต้นคราม อันได้แก่ กิ่งช่วงล่าง ฝัก 
แต่ใบนั้นแม้จะร่วงจะหลุด ต้องเก็บไว้ให้เรียบ ครบทุกใบ
ใบ = คราม = สมบัติ
กำต้นครามให้ได้ใน 1 มือ หักเป็นสามส่วน แล้วมัดด้วยต้นมันเองให้แน่น


ที่นั่งเก้าอี้หันหลังคือจานแม่

งกมาก อยากทำคนเดียวทั้งหมดนี่เลย
สาวผมทองบนเก้าอี้คือจานลูก พูดไทยชัด อธิบายเคลียร์

เตรียมถังความจุ 100 ลิตร ใส่มัดครามเรียงลงไปอย่างเป็นระเบียบ 15 กิโลกรัม 
ตอนชั่งครามนี่ลบน้ำหนักภาชนะด้วยนะ แล้วเอาหินทับไว้อย่าให้แหยม
เติมน้ำเปล่าลงไปให้ท่วมใบ

หินยักษ์ผ่านการใช้งานจนเป็นสีครามเลย
เติมน้ำๆ เอ๊ะแค่แช่เนี่ยนะ

ปิดถังทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หากอากาศร้อนปกติ แต่ถ้าอากาศเย็นต้องแช่ปิดไว้นานกว่านั้น
แต่แช่นานไปก็อาจจะเน่าได้ ถ้าเน่าก็ใช้ครามไม่ได้ เสียไปเลย 
อากาศตอนที่ทำมีแต่ร้อนกับฝน
พรุ่งนี้มาเปิดฝาดู


EPISODE 2
Natural,chemical,Magical method
น้ำครามแล้วไงต่อ 


หลังจาก 24 ชั่วโมงผ่านไป มาเปิดฝาดู น้ำที่แช่จะกลายเป็นสีน้ำทะเล กลิ่นฝาด
และมีรุ้งขึ้นที่ผิวน้ำเป็นแผ่นๆ
ขั้นตอนนี้โหดมาก เปรียบเหมือนการเอาต้นครามถ่วงน้ำ ครามกลัวตายเลยเผ่นออกจากใบมาอยู่ในน้ำกันหมด

สวยเลย

แผ่นรุ้งที่ผิวน้ำ และจุดน้ำเงินบนใบที่หายไป

หยิบมัดครามออกใส่เข่ง เพราะเราจะใช้แต่น้ำเท่านั้น เก็บเศษใบออก
มัดครามน้ำหยดติ๋งๆอย่าบิด ใช้กะละมังรองเอาน้ำใต้เข่งอีกรอบ
เอาน้ำมาให้เกลี้ยงอย่าเสียของ เท่านี้มัดต้นครามก็หมดประโยชน์ เอาไปทำปุ๋ยซะ

ไม่ต้องรีบ ประณีตๆ

กรองทุกหยด หยดน้ำคราม = สมบัติ

ได้น้ำครามมาในมือแล้ว ฮ่า ฮ่า
แต่น้ำครามก็คือ ตัวสีคราม + น้ำ เราจะเอาแต่ตัวสีเท่านั้น จึงต้องแยกน้ำออกจากตัวสีครามด้วย
แยกยังไง ในขั้นตอนนี้ เราใช้เทคนิค "การตกตะกอน"

วิธีคือ ใช้ปูนขาว (ปูนขาวบ้านเรามีหลายแบบ ให้เอาปูนขาว หรือ Ca(OH)2 หรือปูนสุก หรือปูนไลม์ หรือ Lime เท่านั้น ไม่ใช่หินปูนบดแล้วบอกปูนขาว หินปูนบดเฉยๆยังไม่เป็น Lime ต้องผ่านการเผา)
ใช้ปูนไลม์ประมาณ 300 กรัม หรือ 2% ของน้ำหนักมัดครามตอนแรก ใส่มากไปก็พังอีก

เอาปูนขาวตีกับน้ำครามบางส่วนก่อน แล้วจึงค่อยเทลงถังใหญ่ 
เหมือนแทนที่จะเอาผงแฟ้บเทพรวดลงถังซัก ตีแฟ้บในน้ำบางส่วนก่อน ค่อยเทรวม แบบนี้ละลายดีกว่า


ผสมปูนกับน้ำครามในอ่างเล็กก่อน ค่อยเทรวม

เทรวมแล้วยังไม่จบ เข้าสู่ขั้นตอนที่เหนื่อยยิ่งกว่า T25 หลังระบม เส้นยึด กล้ามแขนขึ้น นิ้วล็อค
นั่นคือการ "โจก" หรือเติมออกซิเจนให้น้ำ ปลุกครามให้คืนชีพ ประมาณว่า "จงฟื้น! ยังไม่ถึงเวลาตายเว้ย"

โจก v.     การจ้วงน้ำแล้วเทซ้ำๆอย่างรุนแรง 
ประหนึ่งคลื่นทะเลที่ซัดเข้าหาฝั่งดังโครม โครม จนเกิดฟอง
โปรดศึกษาท่าโจก และการโจก ต้องทำอย่างต่อเนื่อง 20 นาที


ช่วงแรก ฟองจะหนา สูง และเหนียวฟอดมาก
แต่หากโจกจนได้ที่แล้วลักษณะฟองจะเปลี่ยนเป็นฟองใสๆขนาดเล็ก เมื่อหยุดโจกจะแตกเป็นพรายหายไปหมด เสียงซ่า... แล้วหายไป
สีของน้ำก็เช่นกัน ช่วงแรกจะน้ำเงินเขียว peacock green แต่ยิ่งโจกจะมีสีคล้ำขึ้นจนเกือบดำ



ทำเท่านี้ แล้วปิดฝาทิ้งไว้อีก 1 วัน รอตกตะกอน :)



EPISODE 3
Collect that Khram
ได้แล้ว ตัวสีคราม 

วันรุ่งขึ้น
เปิดฝาดูเห็นน้ำสีน้ำตาลใส แต่มันน้ำตาลเฉพาะด้านบนเท่านั้น เพราะสีได้ตกตะกอนไปด้านล่างแล้วจ้า

เอาขันค่อยๆช้อนน้ำเหลืองด้านบนทิ้งไป อย่าแรง เดี๋ยวตะกอนฟุ้งขึ้นมาก็หมดกัน
พยายามช้อนจนใกล้ตะกอนที่สุด สังเกตจากสีเอา ถ้ามีตะกอนสีครามเจือเข้ามาให้หยุด

เบาๆ เบาๆ

โอย เกร็งไปหมดละ เอาสีทิ้งไปป่าววะ

พอใกล้ถึงตะกอน ให้เปลี่ยนเป็นการกรองผ่านผ้าฝ้ายเนื้อกลาง ไม่หนาไม่บาง
แยกน้ำออกจากตัวสี

ใกล้เจอเนื้อครามแล้ว

สีสวยจังเลย

ทิ้งไว้ให้น้ำหยดออกจนหมด ก็จะเหลือแต่เนื้อสีครามแล้ว ไชโย เนื้อสีนี้ใส้ภาชนะปิดสนิท
ไม่โดนแสงโดนอากาศ ก็จะเก็บไว้ใช้ได้ 1-2 ปี

เอาทัพพีตักเป็นครีมเลย เจ๋งมากๆ